วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การป้องกันโรค มือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก  
     โรคนี้ติดต่อกันได้ง่าย  เพราะเราจะพบเชื้อโรคอยู่ในน้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ น้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย  เชื้อโรคเข้าทางปากและทางจมูกโดยตรงจากการไอ จาม หรือติดมากับมือจากของเล่น

ลักษณะอาการของโรคนี้
         ในช่วง 2 – 4 วันแรกผู้ป่วยจะมีไข้  อ่อนเพลีย  เบื่ออาหาร  เจ็บภายในปากและคอ  ปวดเมื่อยตามตัวคล้ายไข้หวัด ต่อมาจะมีจุดหรือผื่นแดงอักเสบที่ลิ้น เพดานปาก เหงือก กระพุ้งแก้ม ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ข้างนิ้วมือนิ้วเท้า 

** ดังนั้นถ้าเด็กมีอาการมาก หรือซึม ไม่รับประทานอาหารและน้ำ  น้ำลายไหล  อาเจียนบ่อย  ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที**

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้  
           มักจะพบในผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็กๆ หรือผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง  ได้แก่   โรคสมองอักเสบ  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ  อัมพาต  กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ  ซึ่งอาจรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ  จึงเป็นการรักษาตามอาการ  (( โรคแทรกซ้อนน่ากลัวมากกก แถมยังไม่มียารักษาอีก !!!! ))


การป้องกันโรค มือ เท้า ปาก
1. ล้างมือโดยฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนเตรียมอาหารและหลังขับถ่าย
2. รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงใหม่ และไม่มีแมลงวันตอม ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูด ช้อน และขวดนม ร่วมกับผู้อื่น
3. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติและให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายป่วย
4. หลีกเลี่ยงการนำเด็กเข้าไปในสถานที่แออัดหรือเล่นของเล่นร่วมกันในที่สาธารณะ
5. ผู้ดูแลเด็กต้องตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อยๆ และรีบล้างมือเมื่อเช็ดน้ำมูก น้ำลาย หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมและเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระ
6. ทำความสะอาดพื้น เครื่องใช้ หรือของเล่นเด็กด้วยน้ำยาฟอกขาว (คลอร็อกซ์) อัตราส่วน น้ำยา 20 ซีซี. ต่อ น้ำ 1,000 ซีซี. และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้
7. ถ้าพบผู้ป่วย ให้รีบแจ้งสาธารณสุขในพื้นที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น